เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา1/2557 Topic: "ป่าโคกหีบ"
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
1. เข้าใจความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติตระหนักถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ป่าและสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นใหม่แล้วส่งผลต่อโลก สังคม และชุมชน เข้าใจและเห็นคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติ เชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างคนในชุมชนกับป่า
2. เข้าใจกระบวนการของชุมชนที่มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และพัฒนาป่าโคกหีบให้คงอยู่อย่างยั่งยืนและเกิดประโยชน์สูงสุด

week7


แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการ Problem Based Learning (PBL)
หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ป่าโคกหีบ
เป้าหมายรายสัปดาห์: นักเรียนเข้าใจถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในป่ารวมถึงการอนุรักษ์ป่าและการปลูกป่าเพื่อทดแทนป่าที่เสียไป แล้วยังทำให้นักเรียนเกิดการรักป่า
รักธรรมชาติมากขึ้น 
Week
Input
Process  (PBL)
Output
Outcome




7
15-19
..
2557




โจทย์
- ปัญหาและการอนุรักษ์ป่าโคกหีบ/ทรัพยากรธรรมชาติ  (ชุมชน)
- ปลุกป่ากับชุมชน (ในป่าโคกหีบ)
คำถาม
นักเรียนเห็นปัญหาอะไรบ้างจากการสำรวจป่าโคกหีบและป่าลำน้ำมาศ
- นักเรียนคิดว่าจะแก้ไขปัญหานี้อย่างไรหากเราเพิกเฉยต่อการอนุรักษ์ (คนตัดไม้ทำลายป่า) จะเกิดอะไรขึ้น
เครื่องมือคิด
- Brainstorms พูดคุยสนทนาวิเคราะห์   วิพากย์เกี่ยวกับปัญหาและการอนุรักษ์ป่าโคกหีบ/ทรัพยากรธรรมชาติ  (ชุมชน)
- Place Mat  เลือกเรื่องที่สนใจอยากเรียนรู้และสร้างสรรค์ชิ้นงานของตนเอง
- Show and Share  นำเสนอผลงานการอนุรักษ์ป่าโคกหีบ/ทรัพยากรธรรมชาติ  (ชุมชน)
และ นิทาน

สื่อ/อุปกรณ์
- ชุมชนกวางงอย
-       ผู้รู้/ผู้นำชุมชน
-       ห้องสมุด
-       อินเทอร์เน็ต
-       บรรยากาศในห้องเรียน
- กระดาษ ปรู๊ฟ


วันจันทร์
ชง
        ครูเปิดคลิปภาพปัญหาจาการตัดไม้ทำลายป่าและปัญหาที่พบจากการเดินสำรวจป่าโคกหีบ เช่น การทิ้งขยะ การตัดไม้ การบุกรุกที่ทำกินให้กับนักเรียนดู
เชื่อม
 - ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาและสาเหตุที่เกิดขึ้นโดยใช้เครื่องมือคิด (Round Robin) และวางแผนสนทนาก่อนที่จะรับความรู้กับชุมชน(กำนัน )
- ออกจดหมายเชิญวิทยากรเพื่อถ่ายทอดความรู้ให้กับชุมชนและนักเรียน
- ออกแบบสำรวจ แบบสอบถามปัญหาในป่าโคกหีบ

ใช้ 
                    นักเรียนคนร่วมกันสะท้อนปัญหาที่พบในป่าโคกหีบ วาดภาพสื่อ สะท้อนปัญหาที่พบ

วันอังคาร
ชง
           ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถาม  เป้าหมายที่ต้องการอยากจะเรียนรู้จากชุมชนคืออะไร แล้วนักเรียนจะมาทำอะไรให้กับชุมชนบ้าง
เชื่อม
         ครูและนักเรียนพร้อมกับผู้นำชุมชน (กำนัน) แลกเปลี่ยนเรียนรู้แสดงความคิดเห็นกัน ในการแก้ไขปัญหาของป่าโคกหีบ และจะแก้ปัญหาอย่างไรในภายภาคหน้า แลกเปลี่ยนการเรียนรู้มาเปิดวงเสวนาปัญหาและแนวทางในการแก้ไขปัญหาป่าโคกหีบ
ใช้
         ครูและนักเรียนพร้อมกับผู้นำชุมชน (กำนัน) และชาวบ้านร่วมมือกันช่วยกันปลูกป่าเพื่อทดแทนธรรมชาติที่สูญเสียไปในป่าโคกหีบ พร้อมกับดูและรักษาป่ารักษาความสะอาด

วันพฤหัสบดี
ชง
          ครูกระตุ้นด้วยคำถาม นักเรียนเห็นปัญหาอะไรบ้างจากการสำรวจป่าโคกหีบและปลูกป่าร่วมกับชาวบ้านในวันอังคาร
- นักเรียนคิดว่าสิ่งเหล่านี้เกิดจากปัญหาและสาเหตุใด
- นักเรียนคิดว่าจะแก้ไขปัญหานี้อย่างไร
เชื่อม
-       ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางแก้ไข โดยใช้เครื่องมือคิด(Round Robin)
-       ครูกระตุ้นด้วยคำถาม นักเรียนจะนำแนวทางการแก้ไขปัญหาไปสู่คนในหมู่บ้านและชุมชนอย่างไร
-       นักเรียนช่วยแสดงความคิดเห็นและสะท้อนความคิดเห็นจากปัญหาร่วมกัน
ใช้
       นักเรียนร่วมกันสะท้อนปัญหาจากสิ่งที่เห็นในป่าโคกหีบและการปลูกป่าร่วมกับชุมชน ใส่กระดาษขนาด A 4 ที่ได้เรียนรู้ในวันอังคาร

วันศุกร์
เชื่อม
          นักเรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นในป่าโคกหีบและจะหาแนวทางแก้ไขปัญหาป่านั้นอย่างไร   รวมถึงการร่วมมือกันช่วยกันปลูกป่ากับชุมชน ที่จะทำให้ป่ากลับมาเป็นธรรมชาติที่สวยงามและป่านั้นก็คงอยู่เหมือนเดิม
ใช้
- ครูและนักเรียนร่วมกันสะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรมที่เกิดขึ้นตลอดทั้งสัปดาห์
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 7




ชิ้นงาน
สรุปMind Mapping
เสวนาป่าโคกหีบ
- การนำเสนอสรุปความเข้าใจรายสัปดาห์
ที่ 7

ภาระงาน
การสรุปMind Mapping
เสวนาป่าโคกหีบ
- การนำเสนอสรุปความเข้าใจรายสัปดาห์
ที่ 7

ความรู้
-เข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นในระดับโลก  ระดับประเทศ
เข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นในป่าโคกหีบและป่าลำมาศและสามารถเข้าใจในการอนุรักษ์ป่าโคกหีบ
ทักษะชีวิต
- ทักษะในการจดบันทึก
- ทักษะในการทำงานร่วมกับเพื่อน

ทักษะการคิด
-  การคิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาป่าถูกทำลาย
การคิดสร้างสรรค์แนวทางที่แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับป่าโคกหีบได้
- คิดเชื่อมโยงความพันธ์ระหว่าง
คน พืช สัตว์ และป่า

ทักษะการสื่อสาร
    อธิบายสิ่งที่ตนเองเรียนรู้ในการแก้ปัญหาป่าไม้ถูกทำลายและการอนุรักษ์ป่าไว้ต่อไป
(ภาพวาดหรือการ์ตูนช่อง)

คุณลักษณะ :
การเคารพสถานที่ (ป่าโคกหีบ)และยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นเวลาทำงาน
รับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย ส่งงานตรงเวลา
มีจิตอาสาในการทำงาน มีน้ำใจ ช่วยเหลือแบ่งปัน





























































































































บันทึกหลังสอน
สัปดาห์ที่ 7 ของการเรียนรู้วิชาบูรณาการ ครูได้ตั้งคำถามกระตุ้นการคิดนักเรียนว่า ป่ามีความสำคัญอย่างไร และมีความสัมพันธ์อย่างไร นักเรียนหลายคนสามารถตอบคำถามและแสดงความคิดเห็นร่วมกันได้อย่างน่าสนใจ และครูได้ทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์ที่แล้วคือประวัติของป่าโคกหีบ ซึ่งมีอยู่ช่วงหนึ่งที่ผู้ใหญ่บ้านได้ให้ข้อมูลว่าป่าโคกหีบโดยเฉพาะบริเวณบุหีบเคยเป็นสถานที่พักของคนสมัยก่อนที่มีการเดินทางจากเมืองพิมายไปยังเขาพนมรุ้ง และได้เล่าตำนานท้าวปาจิตกับนางอรพิมเล็กน้อย ดังนั้นครูจึงได้นำตำนานเรื่องท้าวปาจิตกับนางอรพิมมาเล่าให้นักเรียนฟัง ซึ่งนักเรียนต่างให้ความสนใจ จากนั้นครูได้ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ เช่น การได้รับประโยชน์ร่วมกัน ภาวะอิงอาศัยหรือภาวะเกื้อกูล หรือ ฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์และอีกฝ่ายหนึ่งเสียประโยชน เป็นต้น โดยครูได้แบ่งนักเรียนออกเป็น 4 กลุ่ม และให้ศึกษาค้นคว้า ในหัวข้อที่แตกต่างกันและนำข้อมูลที่ได้มาจัดกระทำในรูปแบบที่เข้าใจง่ายและนำเสนอแลกเปลี่ยนต่อครูและเพื่อนร่วมชั้น และได้ให้นักเรียนแต่ละคนสื่อสิ่งที่ตนเองเข้าใจออกมาเป็นภาพความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตต่างๆในระบบนิเวศ ซึ่งนักเรียนสามารถสื่อผ่านภาพออกมาได้อย่างน่าสนใจ วันต่อมาคุณครูได้ให้นักเรียนดูหนังสั้นที่สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงการจากไปของสืบ นาคะเสถียร หลังจากนั้นครูได้ตั้งคำถามกระตุ้นการคิด เช่น นักเรียนคิดว่าทำไมคุณสืบถึงยอมสละชีวิตตนเอง นักเรียนคิดว่าคุณสืบเขาคิดอย่างไร แล้วถ้านักเรียนเป็นคุณสืบ นักเรียนจะรู้สึกอย่างไร บรรยากาศของการแลกเปลี่ยนเรื่องนี้ นักเรียนหลายคนมีสีหน้าที่เศร้าสลดกับเหตุการณ์ ตอนท้ายครูจึงตั้งคำถามว่า นักเรียนคิดว่าถ้าไม่มีคนอย่างคุณสืบจะเกิดอะไรขึ้น เพราะอะไร ซึ่งนักเรียนหลายคนตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า ป่าไม้ของไทยอาจลดลงเร็วขึ้นกว่านี้  หลังจากนั้นครูจึงเชื่อมเข้าสู่คำถามที่ว่า นักเรียนจะมีส่วนในการช่วยเพิ่มจำนวนต้นไม้อย่างไร นักเรียนหลายคนกระตือรือร้นยกมือตอบว่าปลูกต้นไม้ทดแทนครับ ปลูกป่าค่ะ แต่โจทย์สำคัญที่ได้เรียนรู้จากผู้ใหญ่บ้านในสัปดาห์ที่แล้ว คือการปลูกต้นไม้ในป่าแบบที่คนทั่วไปทำ คือก่อนปลูกต้องมีการตัดหรือถางต้นไม้เล็กๆในบริเวณรอบๆออก ไม่ค่อยได้ผล และมีผลเสียมากกว่าได้ ดังนั้นจึงได้ข้อสรุปร่วมกันคือเราจะปลูกต้นไม้เฉพาะในบริเวณที่โล่งหรือไม่ค่อยมีต้นไม้ หรือเลือกปลูกในบริเวณที่มีต้นไม้ขึ้นไม่เยอะ ส่วนวิธีที่จะปลูกได้ข้อตกลงร่วมกันคือการนำเมล็ดพันธุ์ที่ต้องการไปหยอดตามจุดต่างๆที่จะปลูก โดยใช้เสียมสับและแงะดินให้พอดีสำหรับการหย่อนเมล็ดพันธุ์ลงไปและกลบไว้ตามเดิม ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่ไม่มีการตัดหรือทำลายต้นไม้เล็กๆ กิจกรรมการปลูกป่าพี่ๆชั้นป.6 ได้ร่วมกับนักเรียนชั้นป.5 ทั้งนี้เพื่อเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์พี่น้องไปด้วย ซึ่งกิจกรรมการหยอดเมล็ดพันธุ์เป็นไปอย่างราบรื่น ช่วงที่เดินกลับเด็กๆได้หาเห็ดและผลไม้ป่าและเมื่อกลับถึงห้องครูได้ให้นักเรียนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำกิจกรรมหยอดเมล็ดพันธุ์ครั้งนี้ และให้นักเรียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้รวมถึงปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นและแนวทางแก้ปัญหาผ่านการเขียนสรุปเป็นรายบุคคล วันต่อมาก็เป็นการสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์ ซึ่งสัปดาห์นี้นักเรียนได้ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น