เป้าหมายรายสัปดาห์ สามารถออกแบบวางแผนการเรียนรู้และการทำงานตามความความสนใจได้อย่างเป็นขั้นตอนและน่าสนใจ
Week
|
Input
|
Process (PBL)
|
Output
|
Outcome
|
13-15
ส.ค 57
หมายเหตุ:
วันที่ 11,12 สค.
2557 หยุดชดเชยเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา
|
โจทย์
วางแผนการเรียน
คำถาม
-นักเรียนจะออกแบบและวางแผนกิจกรรมให้เกิดการเรียนรู้อย่างไร
เครื่องมือคิด
-
Brainstorms ระดมสมองร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่อยากเรียนรู้
-
Round Rubin แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับปฎิทินการเรียนรู้
- Think Pair Share ตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้
- Blackboard Share สิ่งที่รู้แล้วและคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่อยากเรียนรู้
-Mind Mapping สรุปองค์ความรู้ก่อนเรียน
-Show and Share นำเสนอชิ้นงาน
- Wall Thinking ปฎิทินการเรียนรู้,สิ่งที่รู้แล้ว สิ่งที่อยากเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์
- บรรยากาศในห้องเรียน
- กระดาษ A4
-
สีไม้
-
กระดาษ ปรู๊ฟ
|
วันพฤหัสบดี
ชง
-
ครูและนักเรียนร่วมกันทบทวนกิจกรรมที่เกิดขึ้นในสัปดาห์ที่ผ่านมา
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นความคิด "อะไรที่นักเรียนรู้แล้วและอยากเรียนรู้เกี่ยวกับ หน่วย : ป่าโคกหีบ”
- นักเรียนจะวางแผนการทำปฎิทินอย่างไร
เชื่อม
- นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันผ่านเครื่องมือคิด
Round Rubin เกี่ยวกับการทำปฎิทิน
-
นักเรียนจับฉลากแบ่งกลุ่มทำปฏิทินตลอดทั้ง 10 สัปดาห์
ใช้
- นักเรียนเขียนสิ่งที่รู้แล้ว
และสิ่งที่อยากเรียนรู้
- นักเรียนทำปฎิทินการเรียนรู้ตลอด 10 สัปดาห์
- นักเรียนเขียน Mind Mapping ก่อนการเรียนรู้
(ทบทวนความรู้เดิมเกี่ยวกับหน่วยที่จะเรียนรู้ คือ ป่าโคกหีบ)
วันศุกร์
เชื่อม
นักเรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับหน่วยที่จะเรียนรู้ คือ ป่าโคกหีบ
ใช้
- ครูและนักเรียนร่วมกันสะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรมที่เกิดขึ้นตลอดทั้งสัปดาห์
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 2
|
ชิ้นงาน
- สิ่งที่รู้แล้ว/สิ่งที่อยากรู้
- ปฏิทินการเรียนรู้ตลอด 10 สัปดาห์
-
Mind Mapping สรุปองค์ความรู้ก่อนเรียน
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
-การทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้
- การวางแผนทำปฏิทินการเรียนรู้ตลอด 10 สัปดาห์
|
ความรู้
ออกแบบวางแผนการเรียนรู้และเลือกสิ่งที่อยากเรียนรู้ได้ทำปฎิทอนการเรียนรู้ตลอด 10 สัปดาห์
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- การเลือกใช้เครื่องมือในการการคิดวิเคราะห์ข้อมูล สร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
- เข้าใจและมีเป้าหมายในการเรียนรู้สิ่งที่ตนเอง/กลุ่ม ทำปฏิทินการเรียนรู้
- สามารถเรียนรู้และเชื่อมโยงเรื่องที่ศึกษากับชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะการคิด
- การคิดวางแผนให้สอดคล้องกับเนื้อหาและกิจกรรมที่อยากเรียนรู้
- การคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหาในจำนวนป่าลดลงอย่าต่อเนื่อง
- สังเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ตนเองรับรู้ได้
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนและจัดทำปฏิทินการเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการเรียนรู้
- การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ
กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
-
มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
|
ปฏิทินการเรียนรู้(เดี่ยว)
ปฏิทินการเรียนรู้(รวม)
สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
สัปดาห์ที่สองของการเรียนรู้ หลังจากที่นักเรียนได้หัวข้อและตั้งชื่อหน่วยในสัปดาห์ที่ผ่านมา สัปดาห์นี้ก็จะเป็นการวางแผนการเรียนรู้ โดยคุณครูได้ให้นักเรียนเขียนสิ่งที่ตนเองรู้แล้ว และสิ่งที่อยากเรียนรู้เกี่ยวกับหัวข้อที่ตนเองได้เลือกไว้ สิ่งที่นักเรียนรู้แล้วส่วนมากจะเป็นข้อมูลพื้นฐานทั่วไป เช่น ป่าถูกบุกรุก, ป่าเป็นแหล่งออาหารให้กับชุมชน, ป่าเป็นที่อยู่ของสัตว์, ป่ามีน้ำท่วม, ป่ามีขยะมากมายที่ชาวบ้านนำไปทิ้งไว้, ป่าไม้ถูกตัดไม้ทำลาย ฯลฯ
ตอบลบหลังจากที่เขียนสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้เสร็จแล้วครูจึงให้นักเรียนนำสิ่งที่อยากเรียนรู้มาจัดหมวดหมู่ว่าควรอยู่ในหัวข้อใด เช่น ประวัติความเป็นมาของป่า โทษและประโยชน์ของป่า/การปลูกป่าทดแทนที่เสียไปและจะทำอย่างไรในอนาคตเมื่อป่าหายไปหมด หลังจากนั้นครูได้ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มเพื่อจัดลำดับเรื่องที่จะเรียนก่อนหลังและเขียนลงในปฏิทินการเรียนรู้ และนำเสนอให้ครูและเพื่อนร่วมชั้นเพื่อให้ทุกคนได้รับทราบว่าจะมีกิจกรรมอะไรเกิดขึ้นบ้างและมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น สำหรับเพิ่มเติมกิจกรรมบางอย่างตามความเหมาะสม ซึ่งการเรียนในสัปดาห์นี้เป็นไปอย่างราบรื่นและได้รับความร่วมมือจากเด็กๆเป็นอย่างดี หลังจากนั้นครูและนักเรียนได้แลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้และทบทวนกิจกรรมที่เกิดขึ้นตลอดทั้งสัปดาห์ และนักเรียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์ที่ 2