เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา1/2557 Topic: "ป่าโคกหีบ"
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
1. เข้าใจความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติตระหนักถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ป่าและสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นใหม่แล้วส่งผลต่อโลก สังคม และชุมชน เข้าใจและเห็นคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติ เชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างคนในชุมชนกับป่า
2. เข้าใจกระบวนการของชุมชนที่มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และพัฒนาป่าโคกหีบให้คงอยู่อย่างยั่งยืนและเกิดประโยชน์สูงสุด

week4


เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนเข้าใจประเภทของป่าแต่ละประเภท และได้เรียนรู้พื้นที่ป่าโคกหีบ ป่าลำมาศ และป่าช้า รวมถึงการสำรวจระบบนิเวศภายในป่าสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต
Week
Input
Process  (PBL)
Output
Outcome




4
25 สค. - 29 สค. 2557


โจทย์  
- ประเภทของป่า
 - ระบบนิเวศและความสัมพันธ์ของป่า

คำถาม
- ทำไมป่าแต่ละพื้นที่มีพืชแตกต่างกัน
- ป่าในโลกนี้มีกี่ประเภท
- ป่าโคกหีบและป่าบริเวณลำน้ำมาศป่าช้า แตกต่างกันอย่างไร
- ทำไมถึงมีกฎหมายห้ามล่าสัตว์ป่าบางชนิด
- ทำไมโรงเรียนต้องมีต้นไม้เยอะ
- ทำไมโรงเรียนต้องปลูกข้าวกินเอง
- ทำไมโรงเรียนต้องปลูกผักกินเอง
- ดวงอาทิตย์สำคัญกับพิธีนมอย่างไร
เครื่องมือคิด
- Brainstorms ระดมสมองร่วมกันเกี่ยวกับวิถีชีวิตของชุมชนในกวางงอย
- Show and Share นำเสนอชิ้นงานนิทาน
- Place Mat  การวิเคราะห์เกี่ยวกับประเภทของป่า
พื้นที่ป่าอนุรักษ์/อุทยานแห่งชาติ
สัตว์ป่าสงวน
-  Card & Chart  ความแตกต่างมีผลต่อการดำรงชีวิตอย่างไร
- Brainstorms ระดมสมองร่วมกันเกี่ยวกับ ระบบนิเวศ ห่วงโซ่อาหาร สายใยอาหาร ความสัมพันธ์ของป่าและสิ่งมีชีวิต
- Mind Mapping สรุปความเข้าใจรายสัปดาห์
- Show and Share นำเสนอชิ้นงาน
สื่อ/อุปกรณ์
ป่าโคกหีบและป่าข้างลำน้ำมาศ
ห้องสมุด
อินเทอร์เน็ต
บรรยากาศในห้องเรียน/มุมหนังสือ
กระดาษปรู๊ฟ
- สี/ปากกาเคมี
- คลิประบบนิเวศและมหัศจรรย์สิ่งมีชีวิต
-  Mind Mapping ระบบนิเวศ  ความสัมพันธ์ของป่า
- สีไม้
- กระดาษ ปรู๊ฟ
วันจันทร์
ชง
       กระตุ้นความคิดด้วยการถาม ความแตกต่างของป่าแต่ละประเภท ป่าเบญจพรรณ ป่าโคกหีบ ป่าเต็งรัง ป่าดิบชื้น
เชื่อม
- แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มแล้วแบ่งกันไปสำรวจค้นคว้า เกี่ยวกับป่าแต่ละประเภทที่แต่ละกลุ่มได้รับมอบหมาย และทำการจดบันทึกลงสมุด PBL ตามที่ตนเองได้รับมอบหมายภายในกลุ่มให้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องใด แตะละกลุ่มสรุปออกมาเป็นแผ่น Chart ร่วมกัน
- ครูและนักเรียนร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของแต่ละกลุ่มโดยผ่านเรื่องมือคิด Show and Shere
ใช้
    ครูให้นักเรียนแต่ละคนสรุปออกมาเป็นชิ้นงานของแต่ละคนหลังจากที่เพื่อน Show and Shere

วันอังคาร
ชง
          ครูให้นักเรียนดูคลิปเกี่ยวกับป่า เบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าชายเลน และป่าดิบชื้น
เชื่อม
        ครูและนักเรียนร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็นแสดงความคิดเห็นร่วมกันโดยผ่าน เครื่องมือการคิด Roud Rubin
ใช้
          ครูให้นักเรียนแต่งนิทานโดยผ่านการ์ตูนช่องหรือรูปเล่มนิทานตามที่ตนเองถนัด
วันพฤหัสบดี
เชื่อม
- นักเรียนจับคู่และครูแบ่งพื้นที่ 9 ตรว. สำหรับสำรวจพืชและสัตว์และบันทึกข้อมูลลงในแบบสำรวจรวมทั้งถ่ายภาพเพื่อเป็นหลักฐานและประกอบการเรียนรู้ การจัดหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิต
หมายเหตุ ผู้ปกครองร่วมเดินสำรวจป่าแต่ละกลุ่ม กลุ่มละ 2-3 คน
 - สำรวจระบบนิเวศสิ่งมีชีวิตที่มีอยู่ในป่า
-Show and Share  ระบบนิเวศ
-หลังจากนักเรียนได้หาความเหมือนและความต่างของป่าทั้ง 3 ประเภท ป่าโคกหีบ ป่าช้า ป่าลำมาศ นักเรียนก็มาพูดคุยโดยการใช้เครื่องมือคิด 
Card & Chart 
- นักเรียนได้ลงมือพูดคุยกันร่วมกันแสดงความคิดเห็นในการสังเกตจำนวนพื้นที่ที่ครูได้แบ่งให้และจัดหมวดหมู่ของสิงมีชีวิตต่างๆผ่านการคิด
Round Rubin 
วันศุกร์
ชง
      ครูกระตุ้นด้วยการถามในป่าที่ไปศึกษาสำรวจนักเรียนเข้าใจระบบนิเวศ และหาความเหมือนความต่างของป่าได้อย่างไร
เชื่อม
       นักเรียนแลกเปลี่ยนทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ ประเภทของป่าทั้ง 3 ประเภท ป่าโคกหีบ ป่าช้า ป่าลำมาศ และระบบนิเวศในป่า โดยผ่านเครื่องมือการคิด  Round Rubin 
ใช้
     นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 4 ในรูปแบบที่ตนเองสนใจ


 
ชิ้นงาน
- สมุดภาพหรือนิทาน เกี่ยวกับประเภทของป่า
ป่าดิบชื้น ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าชายเลน
- ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับประเภทของป่า ป่าดิบชื้น ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าชายเลน สรุปออกมาเป็นชิ้นงาน
- สำรวจพืชและสัตว์ในพื้นที่ป่าตามกำหนด
การนำเสนอสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่4
ภาระงาน
-การสมุดภาพหรือนิทานเกี่ยวกับประเภทของป่าป่าดิบชื้น ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าชายเลน
- การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับประเภทของป่า ป่าดิบชื้น ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าชายเลน สรุปออกมาเป็นชิ้นงาน
- การสำรวจพืชและสัตว์ในพื้นที่ป่าตามกำหนด
การนำเสนอสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่4



ความรู้
เข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลเรื่องประเภทของป่า ป่าดิบชื้น ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าชายเลน
- เรียนรู้สัตว์ป่า พืช ในป่าโคกหีบ ป่าลำมาศ และป่าช้า
รู้ระบบนิเวศห่วงโซ่อาหาร สายใยอาหาร และความสัมพันธ์ของป่ากับสิ่งมีชีวิต
- สามารถสังเคราะห์ถึงความแตกต่างที่หลากหลายและนำไปปรับประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต
- สังเคราะห์เรื่องราวจากข้อมูลเพื่อนำไปปรับใช้ในการดำรงชีวิตและสามารถถ่ายทอดเรื่องราวสู่ผู้อื่นได้
ทักษะ
ทักษะชีวิต:
 -  ทักษะการปรับตัวในการอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นที่มีความแตกต่างจากตนได้อย่างมีความสุข
ทักษะการสื่อสารในการแสดงความคิดเห็นและการนำเสนอผลงานจากเรื่องราวที่ศึกษาค้นคว้าและชิ้นงานที่ลงมือปฏิบัติ
- ทักษะในการจดบันทึก
- ทักษะในการทำงานร่วมกับเพื่อน
ทักษะการแก้ปัญหา
มีวิธีการในการค้นคว้าข้อมูลให้ตอบโจทย์กับสิ่งที่ต้องการศึกษาได้
คุณลักษณะ
-  เคารพ สิทธิหน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
สร้างสรรค์ชิ้นงานได้เต็มศักยภาพของตนเอง
การเคารพสถานที่ (ป่าโคกหีบ)และยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นเวลาทำงาน
รับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย ส่งงานตรงเวลา
-มีจิตอาสาในการทำงาน มีน้ำใจ ช่วยเหลือ
เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
สร้างสรรค์ชิ้นงานได้เต็มศักยภาพของตนเอง
เชื่อมโยงจากสิ่งที่ได้พบเห็นสู่การเรียนรู้ผ่านการสร้างสรรค์ชิ้นงานที่หลากหลาย
เชื่อมโยงจากสิ่งที่ได้พบเห็นสู่การเรียนรู้ผ่านการสร้างสรรค์ชิ้นงานที่หลากหลาย
-  มีวินัยและมุ่งมั่นในการทำงานให้บรรลุตามเป้าหมาย
ทักษะการคิด
-  การคิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาป่าถูกทำลาย
การคิดสร้างสรรค์แนวทางที่แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับป่าโคกหีบได้
- คิดเชื่อมโยงความพันธ์ระหว่าง
คน พืช สัตว์ และป่า
ทักษะการสื่อสาร
    อธิบายสิ่งที่ตนเองเรียนรู้ในการแก้ปัญหาป่าไม้ถูกทำลายและการอนุรักษ์ป่าไว้ต่อไป
(ภาพวาดหรือการ์ตูนช่อง)



ภาพกิจกรรมกลุ่มประเภทของป่า





ชิ้นงานประเภทของป่า กลุ่มและเดี่ยว




ชิ้นงานการแต่งการ์ตูนช่อง/เล่มนิทาน ประเภทของป่า







ชิ้นงานสรุปรายสัปดาห์ที่ 4 





1 ความคิดเห็น:

  1. ในสัปดาห์ที่ 4 พี่ ป.6 เรียนรู้เกี่ยวกับประเภทของป่า พี่ ป.6 บ่งกลุ่มเพื่อศึกษาอาหาร พืชสมุนไพร สัตว์ป่าหรือแมลงของป่าแต่ละประเภท คือ ป่าเต็งรัง ป่าชายเลน ป่าเบญจพรรณ และป่าดิบชื้น เมื่อแต่ละกลุ่มจับฉลากแบ่งกลุ่มเรียบร้อยแล้ว คุณครูให้ พี่ ป.6 ศึกษาค้นคว้าตามที่แต่ละกลุ่มได้รับมอบหมาย เช่น กลุ่มพี่อังอัง ได้ค้นคว้าเกี่ยวกับสัตว์ของป่าแต่ละประเภท กลุ่มพี่อังอังก็แบ่งหน้าที่กันค้นคว้าประเภทป่าชายเลนพี่อังอังกับพี่ไอดินจะค้นคว้า ประเภทป่าเต็งรังก็จะแบ่งให้พี่ติและพี่โจเซฟ ประเภทป่าเบญจพรรณแบ่งให้พี่โมกข์กับพี่ปุณ ประเภทป่าดิบชื้นแบ่งให้พี่ปอด์นและพี่โก้ค้นคว้าข้อมูล พี่ ป.6 มีการวางแผนก่อนการทำงานเพื่อให้การสืบค้นข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว พี่ ป.6 แต่ละกลุ่มช่วยกันทำงานที่ตนเองได้รับการแบ่งหน้าที่ภายในกลุ่ม จากนั้น พี่ ป.6 ก็นำข้อมูลที่ตนเองได้รับมอบหมายที่ไปสืบค้นมา มาสรุปใส่แผ่น Chat กลุ่ม พี่ ป.6 Show and Shere แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันระหว่างกลุ่มในเรื่องป่าแต่ละประเภทที่แต่ละกลุ่มได้รับมอบหมายแตกต่างกันออกไป พี่ ป.6 แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับประเภทของป่าแต่ละกลุ่ม และพี่ ป.6 ความเข้าใจเป็นรายบุคคลเกี่ยวกับประเภทของป่าเป็นชิ้นงาน และหลังจากนั้นพี่ ป.6 ออกแบบสำรวจป่าใส่สมุด PBL ของตัวเองเพื่อเตรียมแบบสำรวจนี้ไว้สำรวจในการเดินสำรวจป่าเพื่อสังเกตและบันทึกลงแบบสำรวจนี้ เช่น พืช สัตว์ สมุนไพร ฯลฯ ในวันอังคาร พี่ ป.6 เตรียมตัวเดินป่าสังเกตประเภทของป่า 3 ป่า คือ ป่าลำมาศ ป่าโคกหีบ ป่าช้า แต่มีเหตุที่ไม่สามารถทำให้พี่ ป.6 ออกสำรวจสังเกตป่าทั้ง 3 ป่าได้ เพราะฝนตกตลอดทั้งวัน พี่ ป.6 จึงเปลี่ยนกิจกรรมการเรียนการสอนเป็น ดูวีดีโอเกี่ยวกับประเภทของป่า ขณะที่ดูวีดีโออยู่นั้นมีพี่ปอด์น พูดขึ้นมาว่า ป่าเบญจพรรณมีทั่วทุกภาคเลยมีเยอะมาก พี่ ป.6 เกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับประเภทของป่ามากขึ้น หลังจากที่ได้เดินสำรวจป่าโคกหีบครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 และ พี่ ป.6 ยังรู้ด้วยว่าป่าโคกหีบจัดอยู่ในประเภทป่าเต็งรังผสมป่าเบญจพรรณ เมื่อพี่ ป.6 เข้าใจประเภทของป่าแล้ว คุณครูให้พี่ ป.6 แต่งนิทานเกี่ยวกับประเภทของป่าโดยผ่านการ์ตูนช่อง พี่ ป.6 ทำงานด้วยกระบวนการคิดจินตนาการถึงป่าแต่ละประเภทและยังสื่อออกมาเป็นภาพได้ พี่ ป.6 แยกย้ายเดินสำรวจป่าแต่ละป่าโดยมีผู้ปกครองเดินร่วมด้วย คุณครูจะแบ่งพื้นที่โดยการดึงเชือกประมาณ 9 ตารางวา ให้กับพี่ ป.6 และพี่ๆแต่ละป่าก็สำรวจพื้นที่ที่ครูดึงเชือกไว้ให้ว่าพื้นที่นั้นพบสิ่งมีชีวิตไม่มีชีวิต สมุนไพร สัตว์แมลง และอื่นๆ พี่ ป.6 ตั้งใจสังเกตและจดบันทึกข้อมูลของตัวเองเมื่อเดินป่าแต่ละป่า ป่าช้า ป่าโคกหีบ ป่าลำมาศ พี่ ป.6 ก็แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันระหว่างเพื่อนในห้องโดยผ่านเครื่องมือคิด Round Rubin พี่ป.6 ก็ได้เรียนรู้ป่าแต่ละป่าที่มีความแตกต่างกันออกไปและพี่แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันว่าในสัปดาห์นี้เรียนอะไรบ้างแล้วจึงมาสรุปรายสัปดาห์ที่ 4

    ตอบลบ