เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา1/2557 Topic: "ป่าโคกหีบ"
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
1. เข้าใจความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติตระหนักถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ป่าและสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นใหม่แล้วส่งผลต่อโลก สังคม และชุมชน เข้าใจและเห็นคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติ เชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างคนในชุมชนกับป่า
2. เข้าใจกระบวนการของชุมชนที่มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และพัฒนาป่าโคกหีบให้คงอยู่อย่างยั่งยืนและเกิดประโยชน์สูงสุด

week5

เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนเข้าใจกับการทดลองที่เกี่ยวกับระบบนิเวศการสังเคราะห์แสง  ออกซิเจน การคายน้ำ ลำเลียงน้ำ แสงกับการเจริญเติบโตฯลฯ
Week
Input
Process  (PBL)
Output
Outcome



5
1 กย.-
5 กย.
2557



โจทย์
การทดลองเกี่ยวกับระบบนิเวศ
เช่น การสังเคราะห์แสง  ออกซิเจน การคายน้ำ ลำเลียงน้ำ แสงกับการเจริญเติบโต
คำถาม
- ต้นไม้ชนิดใดให้ปริมาณออกซิเจนมากที่สุดและกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ได้ดีที่สุด
-ต้นไม้ผลิตออกซิเจนได้อย่างไร 
-ต้นไม้มีกระบวนการอย่างไรในการผลิตออกซิเจน
-ถ้าไม่มีต้นไม้ เราจะได้ออกซิเจนจากแหล่งใด
- แสงและน้ำมีผลต่อพืชอย่างไร
เครื่องมือคิด
- Brainstorms ระดมสมองร่วมกันเกี่ยวกับการทดลอง
- Show and Share นำเสนอนิทานเกี่ยวกับการทดลองทางวิทยาศาสตร์ การคายน้ำ การสังเคราะห์แสงและการตอบสนองของพืชต่อน้ำและแสง
 สื่อ/อุปกรณ์
- ห้องสมุด
- อินเทอร์เน็ต
- บรรยากาศในห้องเรียน
- กระดาษ A4
- สีไม้
วันจันทร์-วันอังคาร
ขั้นชง
   ครูพานักเรียนไปนั่งเป็นวงกลมแล้วสังเกตต้นถั่วที่มีการงอกออกมาว่าเป็นลักษณะอย่างไร
ขั้นเชื่อม
ครูให้นักเรียนจับคู่  พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นตามหัวข้อ
-                   การสังเคราะห์แสง  ออกซิเจน การคายน้ำ ลำเลียงน้ำ แสงกับการเจริญเติบโต
-                   นักเรียนคิดว่าต้นถั่วแต่ละต้น ให้ออกซิเจนเท่ากันหรือไม่ เพราะอะไร
-                   ต้นถั่วผลิตออกซิเจนได้อย่างไร 
-                   นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้พูดคุย ด้วยการเปิดวงเสวนาเป็นกลุ่มย่อย
ขั้นใช้
- นักเรียนแต่ละคู่นำเสนอการทดลองที่ทำกาทดลอง
- ได้อย่างเข้าใจและตั้งใจทำงานของตนเองได้รับผิดชอบ
-นักเรียนนำสิ่งที่เพื่อนๆนำเสนอแต่ละคู่จดลงในสมุด
บันทึกข้อมูล

วันศุกร์
เชื่อม
- นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันผ่านShow and Share  หลังจากผลการทดลองของแต่ละคู่ของตนที่ทำการทดลองเสร็จเรียบร้อย
- นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นในการที่จะร่วมกิจกรรม โครงการอนุรักษ์ปลูกป่าและรักธรรมชาติ
ร่วมกับชุมชนกวางงอยในหน่วยการเรียนรู้
ป่าโคกหีบ
ใช้
นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 5 ในรูปแบบที่ตนเองสนใจได้อย่างง่าย


 
ชิ้นงาน
- ทดลองและสรุปผลการทดลอง
- เตรียมวางแผนกิจกรรม
โครงการอนุรักษ์ปลูกป่าและรักธรรมชาติที่จะออกร่วมกับชุมชนกวางงอย
-สรุปรายสัปดาห์ที่ 5
ภาระงาน
- การทดลองและสรุปผลการทดลอง
- การเตรียมวางแผนกิจกรรม
โครงการอนุรักษ์ปลูกป่าและรักธรรมชาติที่จะออกร่วมกับชุมชนกวางงอย
-การสรุปรายสัปดาห์ที่ 5

ความรู้
- นักเรียนสามารถพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการทดลองเกี่ยวกับระบบนิเวศ เช่น การสังเคราะห์แสง  ออกซิเจน การคายน้ำ ลำเลียงน้ำ แสงกับการเจริญเติบโต
ทักษะ
ทักษะชีวิต
- สามารถอธิบายการใช้อุปกรณ์ในการสร้างชิ้นงานได้
- สามารถแสดงความคิดเห็นร่วมกับผู้อื่นและรู้บทบาทหน้าที่ของตนเอง
- สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้
- สามารถมองเห็นข้อดี ข้อเสีย จากมุมมองที่หลากหลาย


ทักษะการแก้ปัญหา:
- สามารถแก้ไขปัญหาระหว่างการทำชิ้นงานได้
- มีวิธีการในการค้นคว้าข้อมูลให้ตอบโจทย์กับสิ่งที่ต้องการศึกษาได้
- สามารถการจัดลำดับข้อมูลอย่างเป็นระบบ
คุณลักษณะ
- เคารพ เห็นคุณค่า ของตนเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ
- มีการทำงานเป็นขั้นตอนและรับผิดชอบ ใส่ใจในหน้าที่ของตนเอง
- สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น โดยการยอมรับฟังความคิดเห็นที่หลากหลายและแตกต่าง ของเพื่อนๆ

รูปภาพกิจกรรม 












รูปชิ้นงาน
 



 

 







1 ความคิดเห็น:

  1. ในสัปดาห์ที่ 5 พี่ ป.6 เรียนเรื่องการทดลองและในวันนี้พี่ ป.6 ได้แบ่งกลุ่มเพื่อเตรียมการทดลองเกี่ยวกับถั่วและข้าว หลังจากแบ่งกลุ่มเสร็จพี่ ป.6 มีการวางแผนเพื่อเตรียมการทดลองแล้วมาวางแผนเป็นแผ่น chat ภายในกลุ่ม และ show and shere เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกลุ่ม และในตอนบ่าย พี่ ป.6 แต่ละกลุ่มเตรียมการทดลองโดยการเตรียมดิน ปลูก เมล็ดถั่ว พันธุ์ข้าว โดยมีปัจจัยในการวัดผลการทดลอง เช่น แสง อุณหภูมิ น้ำ ดิน อากาศ พี่ ป.6 เกิดการเรียนรู้ด้วยการลงมือปฎิบัติจริงและสามารถจำแนกได้ในการใส่ปริมาณ ดิน น้ำ ฯลฯ หลังจาก พี่ ป.6 เตรียมการทดลองในวันจันทร์เสร็จ ในวันนี้ พี่ ป.6 ก็ได้สร้างแบบสังเกตเพื่อบันทึกการเจริญเติบโต ของถั่วเขียว พันธุ์ข้าว พี่ ป.6 สร้างตารางได้แตกต่างกัน และเมื่อสร้างตารางการสังเกตการทดลอง พี่ ป.6 ก็ได้สำรวจผลการทดลองของเมล็ดถั่วและเมล็ดข้าว พี่ ป.6 สังเกตดูว่ามีการงอกไหม เมล็ดแตกหรือยัง น้ำพอดีไหม แต่ละคนสังเกตได้แตกต่างกันออกไป พี่ติถามครูว่า ครูครับทำไมถั่วเขียวถึงงอกเร็วกว่าเมล็ดข้าวครับ พี่คอปยกมือตอบขึ้นมาว่า เพราะเมล็ดข้าวเปลือกจะหนากว่าเมล็ดถั่วครับเลยทำให้การงอกและแตกเร็วครับ และในช่วงบ่าย พี่ ป.6 ได้สำรวจค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับการคายน้ำการสังเคราะห์แสงเกี่ยวกับพืช แล้วมาสรุปเป็นแผนภาพเพื่อความเข้าใจของแต่ละกลุ่ม แล้วมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกลุ่ม เมื่อพี่ ป.6 ทำการทดลองเพาะเมล็ดข้าวและถั่วเสร็จ ก็ได้สังเกตดูการเปลี่ยนแปลงของเมล็ดถั่วเขียวและพันธุ์ข้าว พี่ ป.6 ก็ สังเกตทั้งการงอก การออกไป ทำไมน้ำมันถึงมีกลิ่น และอยู่ในที่มืดถั่วเขียวยังงอก พี่ ป.6 มีคำถามและสังเกตพร้อมกับจดบันทึกข้อมูลลงแบบสำรวจการงอกที่ออกแบบไว้ และจากนั้น พี่ ป.6 ก็ได้แต่งนิทานการ์ตูนช่องเกี่ยวกับการเจริญเติบโตการงอกของพืช และในวันต่อมา พี่ ป.6 ก็ได้สรุปผลการทดลองในด้านปัจจัยต่างๆ เช่น น้ำ น้ำมากอาจจะงอกช้าและส่งกลิ่น แช่อุณหภูมิที่เย็นกินไปก็ไม่เกิด แสงมากทำให้การเจริญเติบโตดี ฯลฯ พี่ ป.6 มีทั้งปัยหาในการสรุปทำไมถึงไม่เกิด เกิดเพราะอะไร เข้าใจถึงปัญหาในครั้งนี้ แล้วมาสรุปรายสัปดาห์ที่ 5 ค่ะ

    ตอบลบ